ข้อมูลพื้นฐาน

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
สภาพทั่วไป
องค์การบริหารส่วนตำบลด่านแม่คำมัน เป็น อบต. ขนาดกลางได้รับการยกฐานะเดิมจากสภาตำบลด่านแม่คำมัน เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลด่านแม่คำมัน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2539 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับทั่วไป เล่มที่ 133 ตอนพิเศษ 52 ง ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2539 มีผลเมื่อพ้นกำหนด 60 วัน หลังประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา   ซึ่งมีผลให้สภาตำบลด่านแม่คำมัน ได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลด่านแม่คำมัน ตั้งแต่วันที่  23 กุมภาพันธ์ 2540 เป็นต้นไป

ที่ตั้ง
- ตำบลด่านแม่คำมัน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอลับแล ห่างจากที่ว่าการอำเภอลับแล ประมาณ  21 กิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ
                   องค์การบริหารส่วนตำบลด่านแม่คำมัน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 19,090 ไร่ หรือประมาณ 53 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีสภาพความอุดมสมบูรณ์พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะแก่การเกษตรกรรม ทำนา ปลูกหอมแดง อ้อย และพืชไร่อื่นๆ พื้นที่ทางตอนใต้ของตำบลเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ มีน้ำท่วมขัง เรียกว่า   “บึงมาย” จึงเหมาะแก่การขุดขุดสระเลี้ยงปลา ทำนาผักบุ้ง และนาข้าว (เมื่อก่อนจะมีบัวหลวงเป็นจำนวนมาก) สามารถสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนตำบลด่านแม่คำมันเป็นอย่างดี
ที่ตั้งและอาณาเขต
องค์การบริหารส่วนตำบลด่านแม่คำมัน ตั้งอยู่ทางหลวงสาย 1196 ด่านแม่คำมัน – ปลายราง         
ทิศเหนือ     จดกับ   ตำบลชัยจุมพลและตำบลทุ่งยั้ง     อำเภอลับแล     จังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศใต้          จดกับ   ตำบลข่อยสูง     อำเภอตรอน      จังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศตะวันออก  จดกับ   ตำบลไผ่ล้อมและตำบลทุ่งยั้ง       อำเภอลับแล     จังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศตะวันตก     จดกับ   ตำบลดงคู่ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

ประชากร
เขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลด่านแม่คำมัน แบ่งออกเป็น 8 หมู่บ้าน ดังนี้
1. หมู่ 1 ชื่อหมู่บ้าน บ้านด่านแม่คำมันเหนือ       5. หมู่ 5 ชื่อหมู่บ้าน บ้านด่านแม่คำมัน
2. หมู่ 2 ชื่อหมู่บ้าน บ้านชำผักหนาม                 6. หมู่ 6 ชื่อหมู่บ้าน บ้านห้วยบ่อทอง
3. หมู่ 3 ชื่อหมู่บ้าน บ้านเนินกว้าว                     7. หมู่ 7 ชื่อหมู่บ้าน บ้านด่านแม่คำมันใต้
4. หมู่ 4 ชื่อหมู่บ้าน บ้านด่านแม่คำมันกลาง       8. หมู่ 8 ชื่อหมู่บ้าน บ้านด่านแม่คำมันพัฒนา

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนครัวเรือน

จำนวนประชากร

รวม

ชาย

หญิง

1

บ้านด่านแม่คำมันเหนือ

190

246

298

544

2

บ้านชำผักหนาม

263

330

357

687

3

บ้านเนินกว้าว

196

285

337

622

4

บ้านด่านแม่คำมันกลาง

213

325

337

662

5

บ้านด่านแม่คำมัน

236

366

376

742

6

บ้านห้วยบ่อทอง

165

233

246

479

7

บ้านด่านแม่คำมันใต้

173

270

292

562

8

บ้านด่านแม่คำมันพัฒนา

184

334

319

653

รวม

1,620

2,389

2,562

4,951

สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพ
ประชากรในพื้นที่ส่วนใหญ่มีอาชีพทำการ เกษตร เช่น ทำนา, ปลูกหอมแดง และมีข้าราชการในท้องที่จำนวนร้อยละ 5 ของประชาชนทั้งหมดในตำบลด่านแม่คำมัน ทั้งนี้ประชาชนมีอาชีพเสริมที่มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในหมู่บ้าน คือ ค้าขาย, การทอผ้า, ตัดเย็บเสื้อผ้า, การทำเกษตรผสมผสาน
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
1. วัดด่านแม่คำมัน        ตั้งอยู่หมู่ที่ 5
2. วัดใหม่เจริญสุข         ตั้งอยู่หมู่ที่ 4
3. วัดบ้านชำผักหนาม     ตั้งอยู่หมู่ที่ 2

ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญ
1. ประเพณีลอยกระทง
2. ประเพณีแข่งขันเรือพายเล็ก
3. ประเพณีสงกรานต์    
4. ประเพณีตักบาตรเทโว
5. ประเพณีฉลากชลอม
6. ประเพณีฉลากภัตร
7. ประเพณีบวชนาคสามัคคีและวันที่ 5 ธันวามหาราช

ด้านการสาธารณสุข
1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลด่านแม่คำมัน ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4       จำนวน 1 แห่ง
2. สถานพยาบาลเอกชน (คลินิก)                                                    จำนวน 5 แห่ง

การสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม
1. ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลด่านแม่คำมัน

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
1. สถานีตำรวจภูธรด่านแม่คำมัน            จำนวน 1 แห่ง   ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
2. ตู้ยามตำบลด่านแม่คำมัน                  จำนวน 1 แห่ง   ตั้งอยู่หมู่ที่ 5

การบริหารขั้นพื้นฐาน
การคมนาคม
- ทางหลวงหมายเลข 1196 สายด่านแม่คำมัน – ปลายราง จำนวน 1 สาย
- ถนนลูกรัง 52 สาย + ถนนดิน 12 สาย ระยะทาง 10220 กิโลเมตร
- ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก 17 สาย + ลาดยาง ระยะทาง 21.652 กิโลเมตร
หมายเหตุ ทางถ่ายโอนฯ

การโทรคมนาคม
- ที่ทำการไปรษณีย์เอกชน         จำนวน 1 แห่ง
- โทรศัพท์คู่สาย TOT                จำนวน 50 สาย

การไฟฟ้า
- มีไฟฟ้าครบทุกหมู่บ้าน แต่ยังไม่ครบทุกหลังคาเรือน

แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำน้ำ , ลำห้วย           จำนวน 14 สาย
- บึง , หนอง ,และอื่นๆ   จำนวน 11 แห่ง

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้นเอง
- ฝาย                        จำนวน 17 แห่ง
- บ่อน้ำตื้น                 จำนวน 92 แห่ง
- บ่อโยก                   จำนวน  –  แห่ง
- ประปาหมู่บ้าน        จำนวน 12 แห่ง
- สระกักเก็บน้ำ          จำนวน 20 แห่ง

ทรัพยากรธรรมชาติ
- บึงมาย
- หนองแช่แห้ง
- ห้วยบ่อทอง หนองหิน
- ดินลูกรัง
- น้ำใต้ดิน

มวลชนที่จัดตั้ง
- ลูกเสือชาวบ้าน                             5 รุ่น             จำนวน 270 คน
- กองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ  1 รุ่น             จำนวน 110 คน
- ไทยอาสาป้องกันชาติ                   2 รุ่น             จำนวน 155 คน
- อปพร.                                          2 รุ่น             จำนวน 152 คน
- ตำรวจบ้าน                                   2 รุ่น             จำนวน 100 คน

หน่วยธุรกิจในตำบล
- ปั๊มน้ำมันและก๊าซ                          จำนวน 5 แห่ง
- โรงสี                                         จำนวน 9 แห่ง
- ร้านค้า(ของชำและเบ็ดเตล็ด)              จำนวน 72 แห่ง
- ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ และรถยนต์     จำนวน 8 แห่ง
- ร้านเสริมสวย                               จำนวน 13 แห่ง
- ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า                           จำนวน 1 แห่ง

จำนวนสถาบันการศึกษา

ชื่อโรงเรียน

เลขที่ตั้ง

ระดับ

จำนวนนักเรียน

จำนวนข้าราชการครู

ชาย

หญิง

ชาย

หญิง

1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

หมู่ที่ 8

ก่อนวัยเรียน

40 22 0 1

2. โรงเรียนบ้านชำผักหนาม

หมู่ที่ 2

ประถมศึกษา

14 11 1 1

3. โรงเรียนบ้านห้วยทราย

หมู่ที่ 3

ประถมศึกษา

20 21 3 6

4. โรงเรียนด่านแม่คำมัน

หมู่ที่ 8

ประถมศึกษา

94 76 4 9

5. โรงเรียนด่านแม่คำมันพิทยาคม

หมู่ที่ 4

มัธยมศึกษา

135 119 14 9

รวมทั้งสิ้น

303 249 21 26